E-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่
ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร
เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ
นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดีย
ได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์
ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา
ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้
ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ
เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต
โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน
ลักษณะที่สำคัญของการเรียนรู้แบบออนไลน์
(E-Learning)
1.
Anyone, Anywhere and Anytime คือ
ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้
และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน
เพราะโรงเรียนได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
2.
Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์
อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
3.
Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
4.
Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม
(Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบ e-mail, web-board, chat,
Social Network ก็ได้ทำให้ผู้เรียนกับผู้สอนสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
องค์ประกอบของ e- learning
การเรียนแบบออนไลน์ หรือ e-learning มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน
แต่ละส่วนจะต้องออกแบบให้เชื่อมสัมพันธ์กันเป็นระบบ
และจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว คือ
1.
เนื้อหาของบทเรียน
ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
2.
ระบบบริหารการเรียน
เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ e-learning นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน
นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน
ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบของ e-learning
ที่สำคัญมาก เราเรียกระบบนี้ว่า “ระบบบริหารการเรียน”
(LMS : e-Learning Management System)
3.
การติดต่อสื่อสาร
การเรียนแบบ e-learning ถือว่าเป็นการเรียนทางไกลอีกรูปแบบหนึ่ง
แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้ e-learning มีความโดดเด่นและแตกต่างไปจากการเรียนทางไกลทั่ว
ๆ ไปก็คือการนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง
มาใช้ประกอบในการเรียน เพื่อเพิ่มความสนใจ
และความตื่นตัวของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนให้มากยิ่งขึ้น
ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อ สอบถาม ปรึกษาหารือ
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครูผู้สอน
และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่น ๆ
โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1) ประเภท real-time ได้แก่ Chat
(message, voice) , White board / Text slide , Real-time Annotations, Interactive
poll , Conferencing และอื่น ๆ
2) ประเภท non real-time ได้แก่ Web-board
, e-mail
บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย
สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT E-learning เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้าน
การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ
เช่นการนำมัลติมีเดียมาเป็นสื่อการสอนของครู/อาจารย์ ให้ผู้เรียน
เรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต
การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
ในยุคปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Stand-alone
หรือการเรียนผ่านเครือข่าย
เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล
แลกเปลี่ยนค้นข้อมูลความรู้บนเครือข่ายซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อ
การเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อผสม (Multimedia) ใช้การนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอม
โดยใช้ Authoring tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์
ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับ ความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ
การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติกับ
E-learning
ชั้นเรียนปกติ
1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตำราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน
4. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตำราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน
4. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่
E-learning
1. ใช้ระบบวีดีโอออนดีมานด์เรียนผ่านทางเว็บ
2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย
3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจำนวน มาก
4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้
2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย
3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจำนวน มาก
4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้
เวลาของการศึกษาออนไลน์
การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญเติบโตไปทั่วทุกมุมโลก แนวโน้ม
ของเทคโนโลยีดีขึ้น
เร็วขึ้นและให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นทำให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังพัฒนามาสู่แอพพลิเคชั่น
รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์
ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
อนาคตของระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์
สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับการศึกษาทางอิเล็ก
ทรอนิกส์จะเติบโตและเป็นที่แพร่หลายก็คือ
การที่ระบบเครือข่ายมีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอระบบ
การเรียนการสอนที่น่าสนใจเช่น การใช้เสียงส่งสัญญาณวีดีโอตามความต้องการ ( Video
on demand) และการประชุมผ่านสัญญาณวีดีโอ
ในขณะเดียวกันก็ให้บริการที่เชื่อถือได้
การสอบ /
วัดผลการเรียน โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใดหรือเรียนวิธีใด
ก็ย่อมต้องมีการสอบ / การวัดผลการเรียน เป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ /
การวัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนแบบ e-learning
เป็นการเรียนที่สมบูรณ์
กล่าวคือในบางวิชาจำเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนเข้าสมัครเข้าเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียนหรือหลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด
ซึ่งทำให้การเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท
และการสอบใหญ่ก่อนที่จะจบหลักสูตร ระบบบริหารการเรียน
จะเรียกข้อสอบที่จะใช้มากจากระบบบริหารคลังข้อสอบ (Test Bank System) ซึ่งเป็นส่วยย่อยที่รวมอยู่ในระบบบริหารการเรียน
รูปแบบการเรียนใน e – learning
e – learning เป็นรูปแบบการเรียนที่ใช้เว็บเป็นเครื่องมือการเรียนรู้
และมีคำเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น การเรียนการสอนผ่านเครือข่าย (Web-Based
Instruction : WBI) การเรียนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเว็บ (Web-Based
Interactive Environment) การศึกษาผ่านเว็บ (Web-Based Education)
การนำเสนอมัลติมีเดียผ่านเว็บ (Web-Based Multimedia
Presentations) และการศึกษาที่ช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive
Education Aid) เป็นต้น
วิธีจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ e – learning เป็นในปัจจุบันใช้กันอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1.
ใช้เป็นสื่อเสริม
โดยการสร้างเว็บเพจโครงการสอน เนื้อหาวิชาบางส่วน หรือทั้งหมด แจ้งแหล่งอ้างอิง
แหล่งค้นคว้า ให้นักศึกษาทราบ ตอบคำถามที่นักศึกษาถามเข้ามาบ่อย ๆ (Frequently
Ask Question – FAQ) แจ้ง e-mail ให้ผู้เรียนส่งงาน
2.
ใช้เป็นทางเลือก
โดยผุ้เรียนสามารถเลือกเรียนแบบวิธีเข้าชั้นเรียนปกติ หรือเรียนผ่านระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ดังนั้นเว็บเพจรายวิชาต้องมีความสมบูรณ์ใกล้เคียงกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
นั่นคือจะต้องมีความละเอียดมากกว่า ในระดับที่ใช้เป็นสื่อเสริม
3.
ใช้สอนทดแทนการเรียนการสอนปกติ
เป็นระดับสูงสุดที่คาดหวังในการทำ e – learning โดยผู้เรียนสามารถเรียน ทำแบบฝึกหัด
และทดสอบตนเองได้ในระบบไออนไลน์โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม
ในการประเมินผลออนไลน์ ยังต้องอาศัยความซื่อสัตย์ของผู้เรียน
จึงยังคงนำมาใช้ได้ยาก ข้อสอบอาจอยู่ในกระดาษ หรืออยู่ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
บทบาทผู้สอนและผู้เรียนใน e – learning
บทบาทของผู้สอนใน
e – learning จะเปลี่ยนไปเป็นผู้ให้คำแนะนำ (Guide)
เป็นผู้ฝึก (Coach) เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)
และเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในขณะที่บทบาทของผู้เรียนจะเปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้สำรวจสารสนเทศ
ผู้คิด ผู้ลงมือปฏิบัติ
ในลักษณะเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เรียนคนอื่นอย่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
ข้อดี
1.ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แล้วยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2.ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา
3.ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้
6. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ รวมทั้งเนื้อหาที่มีความทันสมัย
7. ทำให้เกิดรูปแบบการเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น
8. ทำให้สามารถลดต้นทุนในการจัดการศึกษานั้น ๆได้
ข้อจำกัด
1.ผู้สอนที่นำe-Learningไปใช้ในลักษณะของสื่อเสริม
ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเลย จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนหมดเร็ว
2.ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ เนื้อหาแก่ผู้เรียน
มาเป็นผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้เรียน
3.การลงทุนในด้านของ e-Learningต้องครอบคลุมถึงการจัดการให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาและการติดต่อสื่อสารออนไลน์ได้สะดวก
4. การออกแบบ e-Learning จะต้องเน้นให้มีการออกแบบให้มีกิจกรรมโต้ตอบอยู่ตลอดเวลา
เนื้อหาต้องมีความถูกต้องชัดเจน และยังคงต้องเน้นให้มีความน่าสนใจ
สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้
5. ผู้เรียนต้องรู้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
มีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น