รามเกียรติ์
รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย
โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือมหากาพย์รามายณะ ที่ฤาษีวารมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษษสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ
จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดูโดยแฝงไว้ซึ่งคติยกย่องพระมหากษัตริย์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นอวตารของพระนารายณ์
สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากนุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น
ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน
สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์
เพื่อให้ละครหลวงเล่น
โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอน ๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ)
มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์"
ประวัติ
ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์มาจากเรื่องรามายณะ
ของอินเดีย ซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้
ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำอารยธรรมและศาสนาเข้ามาเผยแพร่ด้วย
ทำให้เรื่องรามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี
และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป
ดังปรากฏในหลายๆชาติ เช่น ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติ
โครงเรื่อง
เหตุเกิดเมื่อนนทกไปเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์มีสิบหน้ายี่สิบมือตามคำพระนารายณ์ก่อนนั้นเมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว
ได้ไปขอพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดา และตนไปตามสังหารนนทกในชาติหน้า หลังจากนั้น
ทหารเอกทั้งห้า จึงเกิดตามกันไป ได้แก่ หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวรไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะ สุครีพ เกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคต เป็นลูกของพาลีที่เป็นหลานของสุครีพ ชมพูพาน เกิดจากการชุบเลี้ยงของพระอินทร์ นิลพัท เป็นลูกของพระกาฬ
ฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฑ์ได้เกิดศึกชิงนางสีดา
จนไพร่พลฝ่ายยักษ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก และสุดท้าย
ทศกัณฑ์เองก็ถูกพระรามฆ่าตายเช่นเดียวกัน
เนื้อเรื่องย่อ
ท้าวทศรถ เป็นกษัตริย์ครองกรุงอโยธยา มีพระมเหสี ๓ องค์ คือ นางเกาสุริยา นางไกยเกษี และ นางสมุทรเทวีวันหนึ่ง ท้าวทศรถไปรบกับยักษ์
ชื่อ ปทูตทันต์โดยนางไกยเกษี
ตามเสด็จไปด้วย ขณะรบกัน ยักษ์แผลงศรไปถูกเพลารถของท้าวทศรถหัก นางไกยเกษี
รีบกระโดด ลงจากรถ เอาแขนของนางสอดแทนเพลารถ เมื่อท้าวทศรถฆ่ายักษ์ได้แล้ว
ได้ทรงทราบ ถึงความ จงรักภักดีของนางไกยเกษี จึงประทานพรว่า หากนางปรารถนาสิ่งใด
พระองค์ก็จะประทานให้ ท้าวทศรถ ครองราชสมบัติมานานหลายปีแล้ว แต่ยังไม่มีโอรส
จึงทำพิธีกวนข้าวทิพย์ กลิ่นข้าวทิพย์ หอมไปถึงกรุงลงกา ทศกัณฐ์จึงใช้ นางยักษ์กากนาสูร มาขโมย
นางแปลงร่างเป็นอีกา โฉบเอาข้าว ทิพย์ไปได้เพียงครึ่งก้อน
ทศกัณฐ์นำข้าวทิพย์ให้ นางมณโฑ ผู้เป็นมเหสีกิน นางมณโฑ จึงตั้ง
ครรภ์และประสูติพระธิดาออกมา แต่ขณะที่ประสูตินั้นพระธิดาร้องว่า "
ผลาญราพณ์" ขึ้นสามครั้ง พิเภกและโหรอื่นๆ ทำนายว่าเป็นกาลีบ้านกาลีเมือง
ทศกัณฐ์จึงสั่งให้นำ พระธิดาผู้นั้นใส่ผอบ ลอยน้ำไป
พระฤาษีชนกซึ่งเดิมเป็นราชาแห่งเมืองมิถิลาพบเข้า ก็เก็บไปฝังดินฝากแม่พระธรณีไว้
จนเวลาล่วงไปถึง 16 ปี จึงไปขุดนางขึ้นมา แล้วตั้งชื่อให้ว่า สีดา แล้วกลับไปครองเมืองมิถิลา เช่นเดิม และได้จัดพิธียกศรเพื่อหาคู่ครองให้นางสีดา
พระรามยกศรได้จึงได้ อภิเษกกับนางสีดา และพานางกลับไปอยู่ที่กรุงอโยธยา
ส่วนข้าวทิพย์ที่เหลือสามก้อนครึ่ง ท้าวทศรถแบ่งให้มเหสีทั้งสาม
ซึ่งต่อมานางตั้งครรภ์ และ ให้กำเนิดโอรส คือ นางเกาสุริยาประสูติ พระราม นางไกยเกษีประสูติ พระพรต นางสมุทรเทวี
ประสูติ พระลักษมณ์กับ พระสัตรุด
ต่อมา
ท้าวทศรถคิดจะยกราชสมบัติให้พระรามปกครอง แต่นางไกยเกษี ทูลขอเมืองอโยธยา ให้
พระพรต โอรสของตน และขอให้พระรามออกเดินป่าเป็นเวลา 14 ปี ท้าวทศรถเคยประทานพร ให้นางไว้ จึงจำต้องรักษาวาจาสัตย์ พระรามก็ยินยอมออกจากเมืองโดยดี
ซึ่งพระลักษณ์กับ นาง สีดาขอตามเสด็จไปด้วย
ท้าวทศรถเสียพระทัยมากจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
พระราม พระลักษมณ์ และนางสีดา ไปตั้งอาศรมอยู่ในป่า
วันหนึ่ง นางสำมนักขา น้อง สาวของทศกัณฐ์ออกไปเที่ยวป่า ได้พบพระรามเข้า
เห็นพระรามมีรูปโฉมงดงามก็หลงรัก เข้าไป เกี้ยว พาราสีพระราม และทำร้ายนางสีดา
พระลักษณ์โกรธมาก จับนางมาตัดหู จมูก มือ และเท้า แล้ว ปล่อยตัวไป
นางกลับไปฟ้องพี่ชายทั้งสาม คือ ทูษณ์ ขร ตรีเศียร ให้ไปรบกับพระราม แต่ก็ถูก พระรามฆ่าตาย
นางจึงไปเล่าถึงความงดงามของนางสีดาให้ทศกัณฐ์ฟัง ทศกัณฐ์อยาก ได้นาง มา
เป็นชายา จึงออกอุบายให้มารีศ แปลงตัวเป็นกวางทองมาล่อ
นางสีดาเห็นกวางทองเข้าก็อยากได้ ขอให้พระรามไปจับมาให้
พอมารีศถูกศรพระรามก็แกล้งทำเสียงพระรามร้องให้ช่วย นางสีดาจึงขอ
ให้พระลักษมณ์ตามไป ทศกัณฐ์ได้โอกาสจึงเข้ามาลักพานางสีดาไปกรุงลงกา
พระราม
พระลักษมณ์ เสด็จออกติดตามนางด้วยความห่วงใย จนได้พบกับ หนุมาน และ สุครีพ สุครีพขอให้พระรามฆ่าพาลีผู้เป็นพี่ชายของตนเสียก่อน
ตนจึงจะช่วยทำสงครามกับทศกัณฐ์ เนื่อง จากสุครีพแค้นใจ
ทีครั้งหนึ่งพระอินทร์ฝากผอบใส่นางดารามากับ พาล ี เพื่อเป็นรางวัล
ให้สุครีพ ที่ยกเขาพระสุเมรุให้ตั้งตรงได้ แต่ถูกพาลีริบไปเป็นของตน
และครั้งสุดท้าย พาลีเข้าไปสู้รบกับควาย ชื่อ ทรพี ในถ้ำ
แล้วสั่งสุครีพให้คอยดูอยู่ปากถ้ำ ถ้าเลือดที่ไหลออกมาข้นเป็นเลือดควาย
ถ้าเลือดใส เป็นเลือดของตน ให้สุครีพปิดปากถ้ำเสีย สุครีพเฝ้าดูอยู่
เห็นเลือดที่ไหลออกมาใส เพราะน้ำฝน ชะ จึงคิดว่าพาลีตาย จึงเอาหินปิดปากถ้ำไว้
พาลีเข้าใจว่าสุครีพคิดฆ่าตน จึงขับไล่สุครีพออกจากเมือง
พระรามได้แผลงศรไปฆ่าพาลีตาย สุครีพจึงเกณฑ์ไพร่พลลิงมาช่วยพระรามรบ
คืนหนึ่ง ทศกัณฐ์ฝันร้าย พิเภก ทำนายทศกัณฐ์ถึงคราวมีเคราะห์
ให้ส่งนางสีดาคืนไปเสีย ทศกัณฐ์โกรธมากขับไล่พิเภกออกจากเมือง
พิเภกจึงเข้าไปสวามิภักดิ์กับพระราม ช่วยให้คำแนะ นำ
ที่เป็นประโยชน์ในการทำสงครามแก่พระรามอยู่เสมอ
พระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์อยู่นานหลายปี จนญาติพี่น้องของทศกัณฐ์ตายในสงครามกันหมด
ทศกัณฐ์ต้องออกรบเองพระรามแผลงศรถูกหลายครั้งแต่ทศกัณฐ์ก็ไม่ตาย เพราะถอดดวงใจ ฝาก
พระฤาษีโคบุตรไว้ หนุมานกับ องคต จึงทูลรับอาสาพระราม
ไปหลอกเอากล่องดวงใจมาจนได้ ทศกัณฐ์ออกรบอีก
พอพระรามแผลงศรไปปักอกทศกัณฐ์ หนุมานก็ขยี้กล่องดวงใจจนแหลกลาญ
ทศกัณฐ์จึงสิ้นชีวิต จากนั้น
พิเภกก็พานางสีดามาคืนให้พระราม และเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์
นางสีดาจึงขอทำพิธีลุยไฟ ซึ่งนางสีดาสามารถลุยไฟได้อย่างปลอดภัย
พระรามตั้งให้พิเภกครอง กรุงลงกา แล้วพระรามก็เสด็จกลับอโยธยาพร้อมด้วยนางสีดา
และพระลักษมณ์
ต่อมา ปีศาจยักษ์ตนหนึ่งชื่อ นางอดูล ได้แปลงร่างเป็นสาวใช้ของนางสีดา
ขอร้องให้นาง สีดาวาดรูปทศกัณฐ์ให้ดู พอดีพระรามเสด็จมา
นางสีดาตกใจพยายามลบเท่าไรก็ลบไม่ออก จึงรีบ ซ่อนไว้ใต้บรรทม
ทำให้พระรามบรรทมไม่หลับ ต้องสั่งให้พระลักษมณ์มาค้นดู ก็ได้รูปของทศกัณฐ์
พระรามกริ้วมากหาว่านางสีดามีใจรักทศกัณฐ์สั่งให้พระลักษมณ์นำนางไปประหารแต่
พระลักษมณ์ ปล่อยนางไป นางสีดาไปอาศัยอยู่กับฤาษีตนหนี่ง
จนประสูติโอรสองค์หนึ่ง คือ พระมงกุฎ
วันหนึ่ง
นางสีดาไปอาบน้ำที่ลำธารเห็นลิงเอาลูกเกาะหน้าเกาะหลังพาไปไหนมาไหนด้วย
นางจึงกลับไปอุ้มโอรสที่ฝากพระฤาษีเลี้ยงไว้มาด้วยเมื่อพระฤาษีลืมตาขึ้นมาจากการบำเพ็ญตบะ
ไม่เห็นพระมงกุฎ จึงชุบกุมารขึ้นอีกองค์กนึ่งชื่อว่า พระลบ นางสีดาจึงมีโอรสสององค์พระฤาษ
ี ได้สั่งสอนศิลปวิทยาให้กุมารทั้งสองจนเก่งกล้า
พระรามได้ทำพิธีปล่อยม้าอุปการม้าผ่านเข้าไปในป่าพระมงกุฎเห็นเข้าก็จับมาขี่เล่นพระพรต
แผลงศรไปจับตัวพระมงกุฎได้ พระรามสั่งให้นำตัวไปประจานเจ็ดวัน
แล้วให้ประหารเสียแต่ พระลบ มาช่วยไปได้ พระรามออกรบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถเอาชนะกันได้จนกระทั่งรู้ว่า
เป็นพ่อลูกกัน พระรามไปอ้อนวอนนางสีดาให้กลับอยุธยา
แต่นางสีดาไม่ยอม พระรามจึงทำอุบายว่าสิ้นพระชนม์ นางสีดาตกใจรีบกลับมาเยี่ยมพระศพ พระรามจึงออกมาจากโกศจับนางสีดาไว้
นางสีดารู้ว่าถูก หลอก จึงอธิษฐานแทรกแผ่นดินหนีไปอยู่เมืองบาดาล
พิเภกแนะนำพระราม ออกเดินป่า อีกครั้ง เพื่อเสดาะเคราะห์
พระรามจึงเสด็จไปพร้อมพระลักษมณ์ ได้ฆ่ายักษ์ตายอีกหลายตน ครั้งสุดท้าย พระรามได้สู้กับท้าวอุณาราช พระรามถอนต้นกกมาพาดสาย
ยิงไปตรึง ท้าวอุณาราช ไว้กับแผ่นดิน แล้วจึงเสด็จกลับเข้ากรุงอยุธยา
พระอิศวร สงสารพระราม จึงช่วยไกล่เกลี่ย
ให้นางสีดายอมคืน ดีกับพระราม จากนั้น
พระรามกับนางสีดาก็กลับมาครองกรุงอโยธยาอย่างมีความสุข
คุณค่าที่ได้จากเรื่อง
1. รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดก
ชาติที่เจริญแล้วย่อมมีวรรณคดีของชาติตน รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีเก่าแก่ของไทยซึ่งสูญหายกระจายไปในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ในหนังสือสมาคมวรรณคดีปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งขึ้นไว้สำหรับพระนครให้ครบตามจำนวนที่เคยมีมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาทั้ง 4 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา และดาหลัง ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดกของชาติ และเป็นวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของชาติไทย รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดกของชาติ และเป็นวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของไทยที่ควรอนุรักษ์และหวงแหน
2. รามเกียรติ์เป็นบ่อเกิดและศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ ดังนี้
2.1 การแสดงโขน หนัง และหุ่น พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ว่า
โขน จะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น การแสดงโขนถือกันว่าเป็นศิลปะชั้นสูง เป็นที่นิยมว่าถ้าได้แสดงในงานใดก็เป็นการแสดงที่ให้เกียรติ์ ในศิลปะการแสดงโขนนี้ มีทั้งศิลปะการละคร การฟ้อนรำ การดนตรี การขับร้อง การพากย์ การประดิษฐ์เครื่องแต่งตัว การประดิษฐ์หัวโขน การจัดฉาก การล้อการเมือง การแสดงหนังสดหรือโขนสด เป็นศิลปะที่ชาวบ้านเคยชื่นชอบ แต่ปัจจุบันต้องหลีกทางให้แก่ภาพยนตร์ การแสดงหนัง ซึ่งได้แก่หนังใหญ่และหนังตะลุง ได้ก่อให้เกิดศิลปะการแกะหนังให้เป็นตัวละคร ฉลุลวดลายวิจิตรบรรจง เพื่อให้เกิดความงดงามและสื่อลักษณะของตัวละคร หนังกลางคืนจะใช้สีดำเพื่อให้เงาคมชัด ส่วนหนังกลางวันจะมีการระบายสีอย่างงดงามเป็นสีเขียว สีแดงและสีเหลือง
การแสดงหุ่นเรื่องรามเกียรติ์ ก่อให้เกิดศิลปะการสร้างและเชิดหุ่น หุ่นที่ใช้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ เดิมมี 2 ชนิด คือหุ่นหลวงและหุ่นเล็ก โดยหุ่นหลวงจะใช้เล่นในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทำขึ้นตามแบบคนจริง แต่งตัวเหมือนเครื่องโขนทุกอย่าง หัวโขนก็ถอดได้ ส่วนหุ่นเล็กมีขนาดเล็กลง เป็นหุ่นเต็มตัว ต่อมามีการทำหุ่นกระบอกใช้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นหุ่นเป็นชนิดมีแต่หัวกับมือและเสื้อ นอกจากนั้นยังมีหุ่นแบบละครเล็กอีกด้วย ทั้งตัวหุ่นชนิดต่างๆ และการเชิดหุ่นล้วนเป็นศิลปะที่ให้ความสุนทรีย์และต้องการความเชี่ยวชาญอย่างมาก
2.2 จิตรกรรม ความประทับใจในเรื่องรามเกียรติ์ก่อให้เกิดจิตรกรรม เพื่อแสดงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรามเกียรติ์ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่ระเบียงรอบโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) นั้นได้เล่าเรื่องราวรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ในภาพมีทั้งจินตนาการและภาพขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ภาพปราสาทราชวังซึ่งอยู่ในเรื่องและภาพชีวิตชาวไทยสมัยก่อนแฝงอยู่
2.3 ประติมากรรม ภาพสลักนูนแสดงตัวละครตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ ที่วัดพระเชตุพน จัดเป็นประติมากรรมประเภทไม่ลอยตัวที่งดงามด้วยคุณค่าทางศิลปะ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมลอยตัวรูปตัวละครยักษ์ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามและตุ๊กตาหินรูปหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น
2.4 ศิลปกรรม มีการนำเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นศิลปกรรมประดับอาคารต่างๆ เช่น ในวัดพระเชตุพนฯ ลวดลายแถวไม้ปิดทองที่หน้าบรรณของวิหารทิศ และบานประตูลายมุกของพระอุโบสถ ล้วนประดิษฐ์ตามเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสิ้น
2.5 วรรณกรรม เรื่องรามเกียรติ์เป็นแบบฉบับทางวรรณคดี เป็นแรงบันดาลใจแก่กวีและมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมในสมัยต่อมา ความประทับใจในรามเกียรติ์ได้ก่อให้เกิดวรรณกรรมรามเกียรติ์มากกว่าสิบฉบับในประเทศไทย
นอกจากนี้เรื่องรามเกียรติ์ยังก่อให้เกิดนิยายพื้นบ้านมากมาย เช่น เรื่องท้าวกกกะหนากที่จังหวัดลพบุรี เรื่องเขาสรรพยาที่จังหวัดชัยนาท เรื่องตำนานเขาช่องกระจกที่ลพบุรี และตำนานเขาขาดที่จังหวัดสระบุรี เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นที่มาของศิลปะและเป็นศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ
ชาติที่เจริญแล้วย่อมมีวรรณคดีของชาติตน รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีเก่าแก่ของไทยซึ่งสูญหายกระจายไปในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ในหนังสือสมาคมวรรณคดีปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งขึ้นไว้สำหรับพระนครให้ครบตามจำนวนที่เคยมีมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาทั้ง 4 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา และดาหลัง ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดกของชาติ และเป็นวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของชาติไทย รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดกของชาติ และเป็นวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของไทยที่ควรอนุรักษ์และหวงแหน
2. รามเกียรติ์เป็นบ่อเกิดและศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ ดังนี้
2.1 การแสดงโขน หนัง และหุ่น พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ว่า
โขน จะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น การแสดงโขนถือกันว่าเป็นศิลปะชั้นสูง เป็นที่นิยมว่าถ้าได้แสดงในงานใดก็เป็นการแสดงที่ให้เกียรติ์ ในศิลปะการแสดงโขนนี้ มีทั้งศิลปะการละคร การฟ้อนรำ การดนตรี การขับร้อง การพากย์ การประดิษฐ์เครื่องแต่งตัว การประดิษฐ์หัวโขน การจัดฉาก การล้อการเมือง การแสดงหนังสดหรือโขนสด เป็นศิลปะที่ชาวบ้านเคยชื่นชอบ แต่ปัจจุบันต้องหลีกทางให้แก่ภาพยนตร์ การแสดงหนัง ซึ่งได้แก่หนังใหญ่และหนังตะลุง ได้ก่อให้เกิดศิลปะการแกะหนังให้เป็นตัวละคร ฉลุลวดลายวิจิตรบรรจง เพื่อให้เกิดความงดงามและสื่อลักษณะของตัวละคร หนังกลางคืนจะใช้สีดำเพื่อให้เงาคมชัด ส่วนหนังกลางวันจะมีการระบายสีอย่างงดงามเป็นสีเขียว สีแดงและสีเหลือง
การแสดงหุ่นเรื่องรามเกียรติ์ ก่อให้เกิดศิลปะการสร้างและเชิดหุ่น หุ่นที่ใช้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ เดิมมี 2 ชนิด คือหุ่นหลวงและหุ่นเล็ก โดยหุ่นหลวงจะใช้เล่นในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทำขึ้นตามแบบคนจริง แต่งตัวเหมือนเครื่องโขนทุกอย่าง หัวโขนก็ถอดได้ ส่วนหุ่นเล็กมีขนาดเล็กลง เป็นหุ่นเต็มตัว ต่อมามีการทำหุ่นกระบอกใช้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นหุ่นเป็นชนิดมีแต่หัวกับมือและเสื้อ นอกจากนั้นยังมีหุ่นแบบละครเล็กอีกด้วย ทั้งตัวหุ่นชนิดต่างๆ และการเชิดหุ่นล้วนเป็นศิลปะที่ให้ความสุนทรีย์และต้องการความเชี่ยวชาญอย่างมาก
2.2 จิตรกรรม ความประทับใจในเรื่องรามเกียรติ์ก่อให้เกิดจิตรกรรม เพื่อแสดงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรามเกียรติ์ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่ระเบียงรอบโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) นั้นได้เล่าเรื่องราวรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ในภาพมีทั้งจินตนาการและภาพขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ภาพปราสาทราชวังซึ่งอยู่ในเรื่องและภาพชีวิตชาวไทยสมัยก่อนแฝงอยู่
2.3 ประติมากรรม ภาพสลักนูนแสดงตัวละครตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ ที่วัดพระเชตุพน จัดเป็นประติมากรรมประเภทไม่ลอยตัวที่งดงามด้วยคุณค่าทางศิลปะ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมลอยตัวรูปตัวละครยักษ์ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามและตุ๊กตาหินรูปหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น
2.4 ศิลปกรรม มีการนำเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นศิลปกรรมประดับอาคารต่างๆ เช่น ในวัดพระเชตุพนฯ ลวดลายแถวไม้ปิดทองที่หน้าบรรณของวิหารทิศ และบานประตูลายมุกของพระอุโบสถ ล้วนประดิษฐ์ตามเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสิ้น
2.5 วรรณกรรม เรื่องรามเกียรติ์เป็นแบบฉบับทางวรรณคดี เป็นแรงบันดาลใจแก่กวีและมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมในสมัยต่อมา ความประทับใจในรามเกียรติ์ได้ก่อให้เกิดวรรณกรรมรามเกียรติ์มากกว่าสิบฉบับในประเทศไทย
นอกจากนี้เรื่องรามเกียรติ์ยังก่อให้เกิดนิยายพื้นบ้านมากมาย เช่น เรื่องท้าวกกกะหนากที่จังหวัดลพบุรี เรื่องเขาสรรพยาที่จังหวัดชัยนาท เรื่องตำนานเขาช่องกระจกที่ลพบุรี และตำนานเขาขาดที่จังหวัดสระบุรี เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นที่มาของศิลปะและเป็นศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น